Subscribe Now

* You will receive the latest news and updates on your favorite celebrities!

บทความหลวงพ่อสาคร
By using our website, you agree to the use of our cookies.



Blog Post

พระกริ่ง-พระชัยวัฒน์ ชินบัญชร ที่ระลึกฉลองอายุครบ 75 ปี หลวงพ่อสาคร
พระกริ่ง

พระกริ่ง-พระชัยวัฒน์ ชินบัญชร ที่ระลึกฉลองอายุครบ 75 ปี หลวงพ่อสาคร 

พระกริ่ง-พระชัยวัฒน์ ชินบัญชร ที่ระลึกฉลองอายุครบ 75 ปี หลวงพ่อสาคร

วัดหนองกรับนั้น นอกจากในเนื้อทองคำ และ เนื้อเงิน มีการจัดสร้างเนื้อนวะโลหะเพียงเนื้อเดียว โดยเป็นนวะโลหะเต็มสูตรตามตำรับในการจัดสร้างวัตถุมงคลในเนื้อนวะโลหะ โดยพระกริ่งเนื้อนวะ ผสมทองคำ 109 บาท จัดสร้างพระกริ่งชิญบัญชร

พระกริ่งหลวงพ่อสาคร:วัตถุประสงค์ เพื่อสร้างซุ้มประตูและพระเจดีย์จุฬามณียอดซุ้มประตูวัดหนองกรับ
พระกริ่ง มีประวัติการสร้างมาแต่โบราณตามคติความเชื่อในพุทธศาสนาฝ่ายมหายานโดยมีพุทธลักษณะเป็นรูปจำลองของ “พระไภษัชคุรุพุทธเจ้า” เป็นพระพุทธเจ้าพระองค์หนึ่งของในศาสนาพุทธนิกายมหายานซึ่งหมายความว่าทรงเป็นครูในด้านเภสัชนั่นเอง นอกจากนี้ตามคติของมหายานเชื่อกันว่ารูปเคารพแห่งพระไภษัชคุรุนั้นถึงพร้อมด้วยพุทธภาวะมีกฤตยาภินิหารทั้งพระเดชและพระคุณคือ สร้างความสงบสุขความสวัสดี ภัยบุคคลและภัยธรรมชาติภัยจากเขี้ยวงาทั้งปวงคลอดจนภัยอันเกิดจากโรคาพยาธิ เพิ่มความสุขสมบูรณ์ทางลาภยศเลื่อนยศ เลื่อนตำแหน่ง เจริญด้วยโภคทรัพย์บริวาร ดีกันเสนียดจัญไรทั้งปวง เกื้อหนุนดวงชะตากำราบปราบศัตรูมีชัยชนะเหนืออุปสรรคความขัดข้องทั้งปวงมีตบะอำนาจ สร้างความเมตตาเสน่หา สร้างความเคารพรักใคร่ เสริมส่งชื่อเสียง \

ตำนานการสร้างพระกริ่งและพระชัยวัฒน์เริ่มปรากฏ ในสมัยกรุงศรีอยุธยา โดยท่านเจ้าพระสมเด็จพระพนรัตน์ วัดป่าแก้ว ซึ่งทรงรอบรู้แตกฉานในสรรพวิชาได้รวบรวมและร้อยกรองประดิษฐ์คิดแต่งสรรหาสรรพวิทยาคุณในพุทธศาสนาเถรวาทอันมีบทสรรเสริญพุทธคุณ ธรรมคุณ สังฆคุณ เป็นต้น มาบรรจงตกแต่งเป็นอักขระเลขยันต์ ประกอบด้วยพระยันต์ ๑๐๘ ยันต์ นะปถมังอันวิเศษอัก ๑๔ นะ ตกแต่งขึ้นเป็นตำราการหล่อประชัยประจำรัชกาลและต่อมาได้สืบทอดต่อเติมเสริมแต่งโดยการบรรจุผลกริ่งเรียกว่า “เม็ดผลคุณ” เข้าไปในฐานองค์พระปฎิมาเวลาเขย่าเกิดเสียง เราจึงเรียกรูปพระปฎิมาซึ่งบรรจุเม็ดกริ่งนี้ว่า “พระกริ่ง”

พระกริ่งหลวงพ่อสาคร:พระกริ่งชินบัญชร ครั้งนี้ มีพุทธลักษณะเป็นพระกริ่งจีนใหญ่ สมัยราชวงศ์ถัง ซึ่งถือเป็นต้นแบบในการจัดสร้างพระกริ่งในสยามประเทศในเวลาต่อมาผสมผสานกับรูปแบบของพระกริ่งชินบัญชรของหลวงปู่ทิม โดยได้ศึกษารายละเอียดศิลปะของพระกริ่งและดำเนินการแกะแม่พิมพ์ใหม่ทั้งหมดอ้างอิงรูปแบบให้พระกริ่งมีความอิ่มเอิบบริบูรณ์มีความสุข
เพื่อเป็นเอกลักษณ์โดยเฉพาะของหลวงพ่อสาคร ส่วน “พระชัยวัฒน์” นั้นใช้เค้าโครงเดิมของพระชัยวัฒน์ ของหลวงปู่ทิม และปรับแต่งแก้ไขให้งดงามยิ่งขึ้น
หลวงพ่อสาครได้ประกอบพิธีเททองเป็นปฐมฤกษ์ ในวันที่ ๒๘ พฤศจิกายน ๒๕๕๕ ตรงกับ วันพุธ ขึ้น ๑๕ ค่ำ เพ็ญเดือน ๑๒ ปีมะโรง จัตวาศกอันเป็นภูมิปาโลฤกษ์ ส่งผลอันดีต่อความก้าวหน้ามั่นคงถาวรมีความเจริญรุ่งเรืองและเป็นเพชรฤกษ์ที่กล้าแข็งอีกด้วยชนวนต่างๆ ประกอบด้วยแผ่นยันต์พระคาถาชินบัญชร ๙ แผ่น แผ่นยันต์บังคับตามตำราหลวงปู่ทิม แผ่นยันต์ ๑๐๘ นะ ๑๔ ตามตำราบังคับสำนักวัดสุทัศน์ แผ่นยันต์ดวงพิชัยสงครามประสูติ แผ่นยันต์ดวงพิชัยสงครามตรัสรู้ ชนวนพระกริ่งหลายสำนัก เช่น ชนวนพระกริ่งสายวัดสุทัศน์ ชนวนพระกริ่งสายวัดบวรฯ ชนวนพระกริ่งคุณสุธันย์ สุททรเสวี ฯลฯ รวมถึงส่วนผสมนวโลหะ ๙ อย่าง หล่อหลอมเป็นเนื้อนวะ เต็มสูตรตามตำราการสร้างพระกริ่งสำนักวัดสุทัศน์ฯ ซึ่งในครั้งนี้ได้ผสมทองคำน้ำหนัก ๑๐๙ บาท (มูลค่ากว่า ๒.๗ ล้านบาท) เพื่อให้ได้เนื้อนวโลหะที่สวยงามตามแบบแผนแห่งโบราณาจารย์ นับเป็นการจัดสร้างพระกริ่งครั้งประวัติศาสตร์ของวัดหนองกรับและยิ่งใหญ่แห่งยุคสมัยปัจจุบันนี้เลยทีเดียว
นอกจากนี้ยังมีมวลสารเก่าของหลวงปู่ทิมและของหลวงพ่อสาคร อาทิ เกศาหลวงปู่ทิม,เกศาหลวงพ่อสาคร,ผ้าจีวรหลวงปู่ทิมา,ผ้าจีวรหลวงพ่อสาคร,ผงพรายกุมาร,ผงจินดามณี,ผงจินดารูปทอง,ผงพุทธคุณ,ผงลูกประคำ,สีผึ้ง,น้ำมันเสก,แป้งสัตตมาส,พลอยเสก ฯลฯ ซึ่งมวลสารเหล่านี้ได้นำมาผสมปั้นเป็นเม็ดบรรจุลงในพระกริ่งทุกองค์ และที่สำคัญเม็ดผลคุณ (เม็ดกริ่ง)ในครั้งนี้ใช้เป็นเม็ด “หยก” จากเมืองมัณฑะเลย์ ประเทศพม่า

Related posts